วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2562



วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. พุทธศักราช 2546 และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค 1.1 
    เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

มาตรฐาน ค 1.2 
    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา

มาตรฐาน ค 1.3 
    ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา

มาตรฐาน ค 1.4 
    เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้

สาระที่ 2 การวัด

มาตรฐาน ค 2.1 
    เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด

มาตรฐาน ค 2.2 
    แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด


สาระที่ 3 เรขาคณิต

มาตรฐาน ค 3.1 
    อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ

มาตรฐาน ค 3.2 
    ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา


สาระที่ 4 พีชคณิต

มาตรฐาน ค 4.1 
    เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน

มาตรฐาน ค 4.2 
    ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา


สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค 5.1 
    เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

มาตรฐาน ค 5.2 
    ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล

มาตรฐาน ค 5.3 
   ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐาน ค 6.1 
    มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 



อาจารย์ได้สอนการแยกหัวข้อค่ะ ตัวอย่างคือหน่วย นก เป็นดังนี้


และสุดท้ายก่อนจะปิดครอสการเรียนทั้งเทอมอาจารย์ได้ให้ทำแผนพับ ในหัวข้ออะไรก็ได้ 
ของดิฉัน
⏬⏬



ประเมินอาจารย์ :  การเรียนทั้งเทอมอาจารย์คงจะเหนื่อยมากๆเมื่อมาเจอกับนักศึกษาที่อยู่ในยุคใหม่ ที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่อาจารย์ก็ยังคงสอนและตักเตือนเมื่อทำผิดอยู่เสมอ และเต็มที่กับทุกอย่างที่จะนำมาสอนเรา หาโอกาสให้เราได้เข้าอบรมมีความรู้ ทำทุกอย่างเพื่อนักศึกษา

ประเมินตนเอง : ได้ความรู้จากอาจารย์มาพอสมควร การวางตัวการใช้ชีวิตประจำวัน และอยากขอโทษอาจารย์หนูเคยมาสาย 1 ครั้ง(แต่มีเหตุผลนะคะ)

ประเมินเพื่อน : เพื่อนปรับตัวเข้าหาอาจารย์ได้ดี อาจจะมีบางคนเท่านั้นที่ไม่ค่อยสนใจและขาดเรียนบ่อย



สุดท้ายนี้จบการเรียนของเทอมนี้..ปิดครอสแล้วค่ะะ






บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ.2562


วันนี้เรียนรวมทั้ง 2 เซคค่ะ อาจารย์ได้สั่งงานคือการทำ mind mapping 
ในเรื่อง "คู่มือมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย" 



ลิ้งค์ที่ใช้ทำ mind map ค่ะ http://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf


บรรยากาศในห้องเรียน เพื่อนๆตั้งใจอ่านและเขียนลงไปมาก
ที่อาจารย์ให้ทำ เราจะได้สรุปเป็นความคิดของเรา ให้เราเอาไว้ิ่านจะได้เข้าใจได้ง่าย มีผลต่อตัวเราเองด้วย


ผลงาานของดิฉันค่ะ




ประโยชน์ที่ได้รับ

ฝึกการคิดวิเคราะห์รูปแบบที่จะเขียนลงไปและการวางแผนก่อนเขียน ฝึกการเขียนตัวหนังสือ ฝึกความจำ





สรุปบทความ

เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กอนุบาล

หัวข้อที่ต้องเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียน

ก่อนที่จะเข้าโรงเรียนอนุบาล เด็กที่เข้าเรียนในโครงการการศึกษาล่วงหน้านั้นควรได้เรียนหัวข้อต่อไปนี้
  • การใช้ตัวเลขแทนจำนวนสิ่งของ
  • การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน และสัญลักษณ์แทนตัวเลข
  • การใช้คำศัพท์เพื่อนับเลขจาก 1-10 และถอยหลังจาก 10-1
  • การนับสิ่งของจาก 1-10
  • หลักการบวกและการลบโดยใช้สิ่งของ
  • หลักการของคำว่าไม่มี มีอีก น้อย มาก น้อยกว่า น้อยที่สุด มากกว่า และมากที่สุด
  • เรียกชื่อรูปทรงที่พบบ่อย เช่น วงกลม, สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมผืนผ้า และการพบเห็นรูปทรงต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมเช่นรูปร่างของประตู ป้าย และของเล่น
  • แยกของตามขนาด รูปร่าง และสี
  • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น “สี่เหลี่ยมสีแดง 1 อัน” หรือ “เอาสีเทียนสีฟ้าออก 1 แท่ง”

เมื่อไรที่เด็กก่อนวัยเรียนจะเริ่มพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์

เด็กแต่ละคนไม่ได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้เร็วเท่ากัน เหมือนกับในผู้ใหญ่ที่บางคนสามารถเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้เร็วกว่าคนอื่น ๆ แต่เด็กส่วนใหญ่ควรจะเริ่มพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ได้ตามช่วงอายุ
  • 2-3 ปี
  • 3-4 ปี
  • 5-6 ปี


      ช่วงเวลาก่อนวัยเรียนนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของพัฒนาการเด็ก สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ก่อนเข้าโรงเรียนนั้นอาจจะทำให้พวกเขาก้าวหน้าหรืออาจจะช้ากว่าเพื่อนคนอื่นในรุ่นเดียวกันได้ คุณควรให้ลูกของคุณได้เรียนรู้หัวข้อทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับวัยของพวกเขาโดยการสอบถามจากครูผู้สอนที่โรงเรียนหรือลองทบทวนทักษะต่าง ๆ ที่บ้าน หากลูกของคุณมีปัญหากับการเรียน ควรขอความช่วยเหลือทันที เพราะหากวินิจฉัยความผิดปกติของการเรียนรู้ได้เร็วเท่าไรก็จะยิ่งรักษาได้ดีขึ้นเท่านั้น



สรุป วิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร


     การจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์นั้นสามารถวัดได้หลากหลายรูปแบบครูสามารถสอดแทรกเข้ากับกิจกรรมต่างๆที่เด็กๆทำได้แนวทางการจัดประสบการณ์ทางดา้นคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยนั้นเด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากของจริงและในการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ซึ่งเป็นของจริงให้มากที่สุด และเริ่มจากการสอนแบบรูปธรรมไปหานามธรรม เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัว และคิดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้ค้น คว้าด้วยตนเอง และเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน 
กิจกรรมการประกอบอาหารจึงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กในการพัฒนาความพร้อมในเรื่องการสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับและการวัด ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่สำคัญ ต่อ การเรียนคณิตศาสตร์ในขั้นสูงต่อไปเพราะการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่เด็กๆจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากกระบวนการในการทำอาหารเด็กจะได้ลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่การจัดเตรียมอุปกรณ์ส่วนผสมของอาหารประเภทต่างๆและการผสมส่วนผสมต่างๆตามขั้นตอนซึ่งเด็กต้องใช้การเปรียบเทียบรูปทรงการนับจำนวนการเรียงลำดับและการวัดซึ่งเป็นการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กทั้งสิ้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเพื่อให้เด็กสามารถนำทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป 


วัตถุประสงค์การวิจัย 
1. เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
2. เพื่อเปรียบเทียบทกัษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

ขอบเขตของการวิจัย

 1. ประชากร 
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4ปี ที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 30 คน

 2.กลุ่มตัวอย่าง
 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวจิยัครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย- หญิง อายุระหว่า ง 3-4 ปีที่กำลังศึกษาอย่ใู นระดับชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกเด็กที่มีคะแนน ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสาตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 

3. ตัวแปรที่ศึกษา 
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจ้ดกิจกรรมการประกอบอาหาร 
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 14 

4. ระยะเวลาในการทดลอง 
การทดลองครั้งนี้กระทำในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารผู้วจิยัได้ดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
 1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ในการศึกษาและ วิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยู้ผวิจัยได้ดำเนินการดังนี้
 1.1 วิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตร 
1.2 วิเคราะห์กิจกรรมหน่วยสาระการเรียนรู้โดยการนำเอากิจกรรมที่กำหนดใน หน่วยสาระการเรียนรู้มาวิเคราะห์หารูปแบบการสอน
 2. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
3. สร้างแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามหน่วยการเรียนรู้1 หน่วย คือ หน่วย อาหารดีมีประโยชน์จำนวน 18 แผน เพื่อใช้ ในการจัดกิจกรรม 6 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน 
4. นำแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเสนอผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา ปฐมวัย หลักสูตรการสอน และการวิจัย จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงตามโครงสร้าง ทฤษฎี(Construct validity) 
5. เก็บรวบรวมผลการประเมินจากผูเ้ชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคลอ้ง ระหว่างกิจกรรมกับวัตถุประสงค์การวิจัย
6. คัดเลือกแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.50-1.00 ไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามคำแนะนา ของผเู้ชี่ยวชาญเพื่อนำไปใช้ทดลองต่อไป 

สรุปผลการวิจัย 
         เด็กปฐมวยัที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยรวมหลังการทดลองมีค่าสูงกวา่ ก่อนการทดลอง ซึ่งแสดงวา่ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไวกิจกรรมการประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 โดยเฉพาะในการวิจัยผู้วิจัยได้ให้เด็กทุกคนเป็นผู้ลง มือทำร่วมกัน ชิมติชมรสชาติของอาหาร ร่วมกันกะประมาณ เปรียบเทียบขนาด นับจำนวนและ จับคู่ของส่วนประกอบของอาหารทุกคร้ัง เพราะผู้วิจัยตระหนักดีว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ต้อง ผ่านกระบวนการคิดและลงมือกระทำด้วยตนเอง






สรุป ตัวอย่างการสอน




          การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน แต่การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ใน ระดับอื่น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กนั้นต่างจากวัยอื่น 
เพราะนอกจากจะใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวันแล้วยังต้องอาศัยการเตรียมการและวางแผนอย่างดี เพื่อให้เด็กได้มี โอกาสค้นคว้าแก้ปัญหา เรียนรู้การพัฒนาความคิดรวบยอด และสิ่งที่สำคัญคณิตศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางคำนวณแต่เพียงอย่างเดียวหรือไม่ได้มีความหมายเพียงตัวเลขสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการสร้างและใช้หลักการรู้จักการคาดคะเน ช่วยในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรส่งเสริมให้เด็กได้คิดอย่างอิสระบนความสมเหตุสมผล ไม่จำกัดว่าการคิดคำนวณต้องออกมาเพียงคำตอบเดียวหรือมีวิธีการเดียว
เด็กต้องเรียนรู้อย่างมีความสุขจากสื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม(ถ้าใช้สื่อเป็นของจริงได้ก็จะยิ่งดีค่ะ)เพราะเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสการรับรู้และการเคลื่อนไหวและเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุดเพราะจะช่วยกระตุ้นให้เด็กได้คิดและได้ลงมือปฏิบัติจริง 
ยกตัวอย่าง เช่น การเรียงลำดับ 
การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว


ทักษะพื้นฐาน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จัดทำโดย : คุณครูขนิษฐา บุนนาค (Krumam)


แผนการสอน เรื่องการเรียงลำดับ
ขั้นนำ
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาในเรื่องการเรียงลำดับ

ขั้นดำเนินการสอน 
ครูได้ให้เด็กลงมือปฏิบัติในการเรียงลำดับ สูงหรือต่ำ สั้นหรือยาว

ขั้นสรุป 
ให้เด็กได้นำเสนอว่าสิ่งที่เขาได้เรียงนั้น เป็นสิ่งของสูงหรือต่ำ และสั้นหรือยาว 





วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 3 เมษายน พ.ศ.2562

วันนี้เริ่มด้วยการตรวจบล็อกก่อนเริ่มเรียนค่ะ ส่วนใหญ่ยังทำได้ไม่เยอะ อาจารย์ได้ติชมคล้ายๆกัน 




ให้คำแนะนำมาว่าทำยังไงให้บล็อกของเราดูน่าสนใจ เห็นแล้วอยากอ่าน อ่านแล้วมีสาระไม่ยืดเยื้อแต่ความหมายเท่าเดิม

กิจกรรมต่อไปได้นำเสนอสื่อที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม




บรรยากาศเพื่อนๆนำเสนอชิ้นงานค่ะ



สื่อของดิฉันเป็นเกม " บิงโก "
บิงโกจำนวนนับ บิงโกตัวเลขและบิงโกรูปทรงเลขาคณิต







มีวิธีการเล่นให้ด้วยค่ะ




มีกล่องเก็บตัวบิงโก และตัวเดินที่เป็นฝาขวดน้ำพลาสติกอย่างเรียบร้อย รวมอยู่กันเป็นกล่องเดียวค่ะ

➽➽➽➽➽

ประโยชน์ที่ได้รับ
การใช้สิ่งของอย่างประหยัดและการนำเศษวัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่ เกมต่างๆอยู่รอบตัวเราสามารถประดิษฐ์ขึ้นเองให้ลูกหลานเราเล่นได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ

💛💛💜💜❤️❤️💙💙💚💚


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2562

*วันนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจาก มีกิจกรรม work shop กับอาจารย์อีกท่านค่ะ*

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14 วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2562 วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตา...