วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562



สรุป วิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร


     การจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์นั้นสามารถวัดได้หลากหลายรูปแบบครูสามารถสอดแทรกเข้ากับกิจกรรมต่างๆที่เด็กๆทำได้แนวทางการจัดประสบการณ์ทางดา้นคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยนั้นเด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากของจริงและในการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ซึ่งเป็นของจริงให้มากที่สุด และเริ่มจากการสอนแบบรูปธรรมไปหานามธรรม เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัว และคิดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้ค้น คว้าด้วยตนเอง และเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน 
กิจกรรมการประกอบอาหารจึงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กในการพัฒนาความพร้อมในเรื่องการสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับและการวัด ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่สำคัญ ต่อ การเรียนคณิตศาสตร์ในขั้นสูงต่อไปเพราะการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่เด็กๆจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากกระบวนการในการทำอาหารเด็กจะได้ลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่การจัดเตรียมอุปกรณ์ส่วนผสมของอาหารประเภทต่างๆและการผสมส่วนผสมต่างๆตามขั้นตอนซึ่งเด็กต้องใช้การเปรียบเทียบรูปทรงการนับจำนวนการเรียงลำดับและการวัดซึ่งเป็นการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กทั้งสิ้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเพื่อให้เด็กสามารถนำทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป 


วัตถุประสงค์การวิจัย 
1. เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
2. เพื่อเปรียบเทียบทกัษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

ขอบเขตของการวิจัย

 1. ประชากร 
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4ปี ที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 30 คน

 2.กลุ่มตัวอย่าง
 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวจิยัครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย- หญิง อายุระหว่า ง 3-4 ปีที่กำลังศึกษาอย่ใู นระดับชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกเด็กที่มีคะแนน ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสาตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 

3. ตัวแปรที่ศึกษา 
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจ้ดกิจกรรมการประกอบอาหาร 
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 14 

4. ระยะเวลาในการทดลอง 
การทดลองครั้งนี้กระทำในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารผู้วจิยัได้ดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
 1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ในการศึกษาและ วิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยู้ผวิจัยได้ดำเนินการดังนี้
 1.1 วิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตร 
1.2 วิเคราะห์กิจกรรมหน่วยสาระการเรียนรู้โดยการนำเอากิจกรรมที่กำหนดใน หน่วยสาระการเรียนรู้มาวิเคราะห์หารูปแบบการสอน
 2. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
3. สร้างแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามหน่วยการเรียนรู้1 หน่วย คือ หน่วย อาหารดีมีประโยชน์จำนวน 18 แผน เพื่อใช้ ในการจัดกิจกรรม 6 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน 
4. นำแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเสนอผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา ปฐมวัย หลักสูตรการสอน และการวิจัย จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงตามโครงสร้าง ทฤษฎี(Construct validity) 
5. เก็บรวบรวมผลการประเมินจากผูเ้ชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคลอ้ง ระหว่างกิจกรรมกับวัตถุประสงค์การวิจัย
6. คัดเลือกแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.50-1.00 ไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามคำแนะนา ของผเู้ชี่ยวชาญเพื่อนำไปใช้ทดลองต่อไป 

สรุปผลการวิจัย 
         เด็กปฐมวยัที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยรวมหลังการทดลองมีค่าสูงกวา่ ก่อนการทดลอง ซึ่งแสดงวา่ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไวกิจกรรมการประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 โดยเฉพาะในการวิจัยผู้วิจัยได้ให้เด็กทุกคนเป็นผู้ลง มือทำร่วมกัน ชิมติชมรสชาติของอาหาร ร่วมกันกะประมาณ เปรียบเทียบขนาด นับจำนวนและ จับคู่ของส่วนประกอบของอาหารทุกคร้ัง เพราะผู้วิจัยตระหนักดีว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ต้อง ผ่านกระบวนการคิดและลงมือกระทำด้วยตนเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14 วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2562 วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตา...